การเช่าโกดังไม่ได้มีแค่ค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเช่าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาษีที่ต้องจ่ายด้วย ซึ่งเป็นเรื่องน่าปวดหัวและต้องทำความเข้าใจสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ เรารวบรวมและสรุปภาษีที่เกิดขึ้นจากการเช่าโกดัง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำงานได้ง่ายและเข้าใจมากขึ้น

**รายละเอียดต่างๆเป็นสิ่งที่สรุปและปรับรายละเอียดให้อ่านให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น โปรดศึกษารายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมและอัพเดตตัวเลขต่างๆจากเว็บไซค์สรรพากรเสมอๆด้วย**

การทำสัญญา

ในการทำสัญญาเช่าโกดัง ต้องมีการทำธุรกรรมทางภาษีเพื่อให้สัญญาสมบูรณ์ (ไม่งั้นจะเอาไปเป็นหลักฐานในชั้นศาลไม่ได้) ประกอบด้วย 2 อย่างดังนี้

1.อากรแสตมป์

ในสัญญาเช่า 1 สัญญา ต้องซื้ออากรแสตมป์มาติดเพื่อให้การทำสัญญาสมบูรณ์ โดย 1 บาทต่อค่าเช่าตลอดสัญญา 1000 บาท หากไม่ได้ระบุให้คิด 3 ปี (โดยปกติสัญญาที่ไม่ได้ระบุระยะเวลาสัญญา = มีอายุ 3 ปี)

สัญญาประกอบด้วย ต้นฉบับ และคู่ฉบับ ซึ่งต้องติดสแตมป์แยกกันทั้ง 2 แผ่น

โดยบทบาท ผู้ให้เช่าจะเป็นคนซื้อมาติด ผู้เช่ายื่น “ขีดฆ่าอากร” (ยื่นประทับตราแหละ)

ปกติเป็นซื้อแสตมป์มาติด ยกเว้นเข้าเกณท์ 3 ข้อต่อไปนี้ จะเป็นต้องไปจ่ายเงินกับสถานที่จดทะเบียน

        1. รวมมากกว่า 1 ล้านบาท
        2. สัญญามากกว่า 3 ปี
        3. ให้รัฐเช่า

2.ค่าธรรมเนียม

สำหรับสัญญาที่มีอายุมากกว่า 3 ปี ต้องจ่ายอีก 1% ของค่าเช่าตลอดสัญญา

       ตัวอย่าง เราทำสัญญาเช่าโกดังกับ บ.A โดยสัญญากล่าวว่าค่าเช่า 10,000 ต่อเดือน รวม 3 ปี (รวมเป็นเงิน 10,000*12*3 = 360,000 บาท ) หลังจากเซ็นสัญญากันแล้ว ต้องให้ บ.A ไปซื้ออากรแสตมป์ 360 บาทมาติดต้นฉบับ และอีก 360 บาทมาติดคู่ฉบับ แล้วส่งให้เราไปยื่นขีดฆ่าอากร สัญญาถึงจะเป็นการสมบูรณ์ (เคสนี้ยังไม่ถึงเกณท์ต้องไปจ่ายเงินสดหรือเสียค่าธรรมเนียม)

เสริม จะเห็นได้ว่าระยะเวลาสัญญาที่เหมาะสมจึงไม่ควรทำให้ค่าเช่ารวมเกิน 1 ล้านหรือเกิน 3 ปี เพื่อความสะดวกกว่าในการทำสัญญา

ระหว่างสัญญา

การจ่ายค่าเช่า ก็มีเรื่องภาษีมาเกี่ยวข้อง มี 2 ข้อด้วยกันที่คุณควรที่จะต้องรู้

1.หัก ณ ที่จ่าย

เมื่อคุณจ่ายค่าเช่า คุณต้องหักเงินส่วนนึงไปจ่ายโดยตรงกับสรรพากร โดยทำการดังนี้

1.หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ของค่าเช่าก่อนจ่ายเงินให้ผู้ให้เช่า 

2.ออกใบทวิ 50 4 ฉบับ (โหลดแบบฟอร์มจากเว็ปสรรพากรได้เลย )

-ต้นฉบับและสำเนา ออกให้ผู้ให้เช่า (เดี๋ยวเขาเอาไปขอคืนภาษีเอง)

-ฉบับที่ 3 เอาไว้ยื่นภาษี

-ฉบับที่ 4 เก็บไว้เป็นหลักฐาน

3.กรอกลง ภ.ง.ด.53 เพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 

       ตัวอย่าง หากเราต้องจ่ายค่าเช่า เดือนละ 10,000 ให้จ่ายผู้ให้เช่าแค่ 9,500 บาท พร้อมให้ใบทวิ 50 2 ฉบับ(ต้นฉบับและสำเนา)แก่ผู้ให้เช่า อีก 2 ใบเก็บไว้ไปกรอกใน ภ.ง.ด.53 ก่อนวันที่ 7 ที่จะถึงนี้

เสริม การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงิน แม้ว่าการดำเนินการนี้อาจทำให้เกิดความไม่พอใจจากพนักงานหรือผู้ให้เช่าบางเจ้าจากความยุ่งยากนี้ได้ แต่มันจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับสรรพากรในอนาคต ดังนั้น ควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียอย่างรอบคอบในการเลือกที่จะหักหรือไม่

2.นำภาษีไปหักค่าใช้จ่าย

ค่าเช่าถือเป็นค่าใช้จ่าย สามารถทำไปกรอกหักค่าใช้จ่ายในธุรกิจของคุณได้ 

เสริม หากเป็นการสร้างโกดังของตัวเอง จะกลายเป็นทรัพย์สินแล้วค่อยหักค่าเสื่อมเอา ในขณะที่หากเป็นการเช่าโกดัง สามารถเอาค่าเช่าไปหักค่าใช้ได้เลย

กลยุทธ์การวางแผนภาษี

กลยุทธเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางภาษีที่เกิดขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยความลำบากในการทำงานและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในส่วนอื่น ควรคำนวนค่าใช้จ่ายโดยรวมอีกที

1.แยกจดสัญญาจาก”ค่าเช่าล้วน” เป็น “ค่าเช่า+ค่าบริการ”

แบ่งค่าเช่าให้ไปอยู่ในค่าบริการส่วนหนึ่ง ทำให้ส่วนที่แบ่งออกมานั้น ถูกคิดตามเกณท์ค่าบริการ ได้แก่

-หัก ณ ที่จ่ายหักแค่ 3% (ขณะที่ค่าเช่า 5%)

-อากรแสมป์ 0.1%

-จด vat ได้

ซึ่งลดค่าใช้จ่ายไปได้บ่าง แต่แลกกับสัญญาที่เพิ่มมาอีกชุดนหึ่ง

2.แยกค่าน้ำไฟออกมาคิดตามจริง

-นำ vat 7% ไปลดค่าใช้จ่ายได้

-ไม่มีค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียม

       ทั้งหมดนี้คือภาษีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเมื่อทำการเช่าโกดัง การทำสัญญาต้องมีแสตมป์อากรและค่าธรรมเนียม การจ่ายค่าเช่าต้องมีหัก ณ ที่จ่ายและนำค่าใช้จ่ายไปหักได้ หากคุณเพิ่งมาทำธุรกิจแรกๆ อาจจะเข้าใจและจดจำทั้งหมดได้ยาก แต่เมื่อลองไล่ๆทำไปตามระบบเรื่อยก็จะค่อยๆเข้าใจได้เอง

       สำหรับการทำธุรกิจยังต้องมีเรื่องเกี่ยวกับภาษีอีกมากที่ยังต้องเรียนรู้ ภาษีเงินได้ การลดหย่อนภาษี การรับรู้รายได้ หรือแม้แต่การกรอกภาษี ในที่นี้จะไม่ขอพูดถึงเพราะเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาในธุรกิจของคุณเอง ภาษีเป็นสิ่งที่ยาก แต่ก็เป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องรับผิดชอบ มีความรู้เรื่องภาษีช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่ายและรักษาสิทธิต่างๆที่พึงจะได้ในธุรกรรมต่างๆในธุรกิจของคุณด้วย ค่อยๆเรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ

ขอบคุณแหล่งที่มา

  •  หนังสือ Estate Rental and Service Business Tax Planning การวางแผนภาษีธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ และการให้บริการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม
  • เว็บสรรพากร 
  • Itax, แสตมป์อากร