สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยดูเรื่องโกดังมาก่อน เมื่อคุณเสิร์ชหา #โกดังให้เช่า#คลังสินค้าให้เช่า#ความรู้โกดัง#ประเภทโกดัง#โกดังเก็บของ  คุณจะพบคำถามมากมายที่ต้องใช้ในการตัดสินใจเลือกที่เก็บสินค้าของคุณ โกดังแบบไหนดี? ขนาดเท่าไหร่ดี? เก็บของหนักแค่ไหน? มีอะไรที่ต้องคิดอีกไหม? ซึ่งมากพอที่จะให้คุณไม่รู้ว่าจะเช่าโกดังต้องเริ่มต้นอย่างไรดี จะเลือกแบบไหนดี เราได้ร่างคำถามที่คุณต้องตอบให้ได้ก่อน เพื่อนำสเปกเหล่านี้มาเสิรซ์ค้นหาหาต่อไป

1.คุณต้องการบริการประเภทไหน? (ประเภทโกดังแบบไหนดี)

อย่างแรกที่คุณต้องตอบให้ได้ก่อน คือคุณต้องการเก็บสินค้านี้ในแบบไหน อยากได้บริการอะไรบ้าง

      1. โกดังสินค้าส่วนตัว (Private warehouse) – โกดังที่คุณเองเป็นเจ้าของเอง ดูแลเอง เหมาะกับผู้ที่มีทุน-แรงงานมาก เพราะการที่คุณเป็นเจ้าของทำให้สามารถปรับให้เหมาะสมและสะดวกสบายต่อการจัดการ ทั้งตัวสินค้าและระบบ แต่ก็ต้องทุ่มเทให้ตั้งแต่การออกแบบก่อสร้างไปยันการวางระบบและดูแล
      2. โกดังสินค้าสาธารณะ (Public Warehouse) – โกดังที่เช่าจากผู้ประกอบการโกดัง เหมาะกับผู้ที่ต้องการเก็บสินค้าแบบไม่ได้ต้องการเก็บแบบพิเศษอะไรมาก หรือแผนในอนาคตที่ไม่แน่นอนพอที่จะลงทุนสร้างเอง โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการได้สร้างโกดังโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้เช่าทั่วไปอยู่แล้ว เช่น ที่จอดรถใหญ่ ความกว้างประตู-ถนน ความแข็งแรงหรือมีห้องน้ำ ทำให้ผู้เช่าไม่ต้องออกแบบอะไรมาก สามารถใช้งานได้เลย หรือบางที่ก็มีบริการพื้นฐานให้ด้วยเช่น ซ่อมแซมตัวอาคาร ยามรักษาความปลอดภัย
      3. โกดังห้องเย็น(Cold Storage) – โกดังที่มีห้องสำหรับปรับอุณหภูมิ ความชื้น หรือสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับสินค้าชนิดนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น ของสด ของแช่แข็ง ของที่อ่อนไหวต่อความร้อน เป็นต้น
      4. ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) – โกดังที่ใช้สำหรับการรับสินค้าจากแหล่งต่าง ๆ และจัดเก็บเพื่อทำการจัดส่งสินค้า ต้องการพื้นที่สำหรับยานพาหนะและระบบการติดตามสินค้า (โกดังเหล่านี้มักจะยกพื้นสูงให้พอดีกับความสูงรถขนของเพื่อให้ขนสินค้าขึ้นลงได้สะดวก แลกกับการเพิ่มต้นทุนของการยกตัวอาคารสูง)
      5. คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) – โกดังที่ใช้สำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออกซึ่งมีธุรกรรมกับสรรมพากรเยอะ มักมีบริการเกี่ยวกับการชำระภาษีและการจัดการสินค้าที่นำเข้า-ส่งออก จะรั้วรอบขอบชิดและมีกฏพิเศษสำหรับจดเป็นโกดังประเภทนี้
      6. คลังสินค้าแบบบริหารจัดการ (Fulfillment Center) –  ไม่เชิงเป็นโกดังให้เช่า แต่เป็นบริการรับสินค้าจากธุรกิจที่ใช้บริการเข้ามาจัดเก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้าตามออเดอร์ อาจมีบริการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นต่างๆเพื่อเสริมความสะดวกในการทำงานให้กับผู้ใช้บริการ

   **หากคุณต้องการใช้โกดังที่มีบริการครอบคลุมตั้งแต่รับยันส่งออก อย่างประเภท 5-6 ซึ่ง ก็ไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องสเปกของตัวอาคารต่อ แต่จำเป็นต้องไปไล่ถามในแต่ละผู้ให้บริการต่อเอง แต่ละที่มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป คุณประมาณการความเหมาะสมกับสินค้า การทำงานและต้นทุนของคุณเอง

2. สินค้าคุณเป็นประเภทไหน? (น้ำหนักโหลดเท่าไหร่ดี)

          สำหรับโกดังเก็บสินค้า สิ่งที่มีผลต่อต้นทุนการก่อสร้างคือน้ำหนักโหลดของตัวพื้นอาคาร ตัวสินค้า 1 แพ็คเก็จมีขนาดเท่าไหร่ หนักขนาดไหน(Unit load) มีผลต่อว่าจะเก็บยังไงเพื่อให้คำนวนได้ว่าต้องการน้ำหนักโหลดกี่ ตัน/ตรม.
สินค้า 1 แพ็คเก็จจะแบ่งประเภทตามโหลดได้ดังนี้

      1. ขนาดเล็ก(small loads) – เป็นของชิ้นเดียว สามารถยกสบายๆด้วยมือเดียว เช่น หนังสือ,กล่องนม หรือน้ำดื่ม มักจะจัดเรียงด้วยเชลฟ์ขนาดเล็ก เพื่อให้ลูกค้าเลือกหยิบสำหรับขายปลีก หรือพนักงานแพ็คของเป็นชิ้นๆส่งขายออนไลน์
      2. ขนาดกลาง(medium loads) – ใหญ่กว่าอันก่อนหน้าหรือแพ็กเป็นกล่อง อาจมีน้ำหนักสูงสุดถึง 10 กิโลกรัม แต่คนยังสามารถยกไหว ของเหล่านี้มักจะเก็บด้วยชั้นวางสินค้าทั่วไป(Longspan Shelving) หรือ ชั้นวางแร็ค(Carton Flow Rack) ขึ้นอยู่กับความเหมาสมตามสถานการณ์

        ***สองระดับนี้ไม่จำเป็นต้องมีรถยกหรือไม่สะดวกกับการซ้อนสูงมาก เพียงแค่ 500 กก./ตรม.(กฏหมายขั้นต่ำคลังสินค้า) ก็เพียงพอใช้งานแล้ว แต่ระวังของปูพื้นเช่นกระเบื้อง-ผ้าปูยาง-ไม้ ที่จะเสียรูปได้หากโดนกดทับเป็นเวลานาน

      3. ขนาดใหญ่(larger or pallet load) – ด้วยน้ำหนักที่มากและขนาดใหญ่จึงต้องวางสินค้าบนพาเลทและซ้อนบนชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรม(pallet rack) เพื่อให้ยกขึ้นลงด้วยรถโฟล์คลิฟท์ได้สะดวก โดยมากก็วางซ้อนๆกัน หรือใช้เชลฟ์วางสินค้าเพื่อประหยัดเนื้อที่ ทดแทนกับพื้นที่ที่เสียไปกับเส้นทางรถโฟล์คลิฟท์หรือเครนขนาดเล็ก
        ***สินค้าประเภทนี้ โหลดพื้นขึ้นอยู่กับที่คุณวางแผน ถ้าวางบนชั้นวางทั่วไป 2-3 ชั้น  2 ตัน/ตรม. อาจจะพอดีๆ แต่หากต้อง 5 ชั้น หรือมีเครนด้วยอาจต้องถึง 8 ตัน/ตรม.
      4. ขนาดใหญ่มาก(bulky load) – เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ สินค้าก่อสร้าง เสาเข็ม ตัวอาคารจะเริ่มมีอุปกรณ์ยกพิเศษเช่น เครน ซึ่งเครนก็มีทั้งแบบรางที่พื้น(เครนขา)หรือรางเกาะหลังคา(เครนคานเหนือศรีษะ) ไม่เพียงแค่พื้นแต่ตัวอาคารก็ต้องถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักสิ่งเหล่านี้ด้วย
        ***ประเภทนี้น้ำหนักจะคิดจากเครน+สินค้า มีตั้งแต่ 2 ยัน 20 ตันหรือมากกว่านั้น

***นี่เป็นเพียงแนะนำแนวคิดคร่าวๆเพื่อการเลือกเบื้องต้นเท่านั้น ในการใช้งานจริงจำเป็นต้องคำนวนโดยละเอียดในทางวิศวกรรมอีกที***

3. ภายในคุณต้องทำอะไรบ้าง? (ขนาดโกดังเท่าไหร่ดี)

         แน่นอนคุณต้องมีสินค้า จะวางบนชั้นวางหรือวางซ้อนกันจากพื้นก็แล้วแต่ คุณจะเก็บเท่าไหร่วางซ้อนกันกี่อัน เมื่อลองนำมารวมๆกันแล้วก็จะได้พื้นที่ทั้งหมดที่ต้องการใช้ แต่อย่าลืมว่าโกดังเก็บสินค้า ไม่ได้มีแค่ที่วางสินค้า ต้องมีส่วนอื่นๆประกอบร่วมด้วย

      • ออฟฟิต/ห้องน้ำ – หลายคนคิดไม่ถึง แต่เมื่อมีคนอยู่ในโกดัง ก็ต้องมีสถานที่ให้เขาทำงาน-ใช้ชีวิตอยู่ในนั้น อย่าลืมคำนวนเผื่อที่สำหรับห้องพวกนี้ด้วย หรือหากมีข้างนอกอาคารก็จะประหยัดพื้นที่ในอาคารขึ้น 
      • ที่สัญจรอุปกรณ์ขนของ – หากเริ่มมีรถยก/เครนยก เนื้อที่ส่วนใหญ่จะหมดไปกับที่รถวิ่ง-ที่เครนยก ลองประมาณคร่าวๆไว้ว่าจะต้องใช้ที่ประมาณไหน
        **ความกว้างวิ่งโฟล์คลิฟท์ขั้นต่ำที่มักเห็นใช้คืออย่างน้อย 3 เมตรเพราะต้องมีระยะเลี้ยวและพื้นที่หยิบสินค้าด้วย แต่ก็ขึ้นกับขนาดโฟล์คลิฟท์ที่ใช้ด้วย
      • รถขนส่ง – กรณีต้องการให้รถวิ่งเข้าภายในอาคาร จะเพื่อความสะดวกในการรับส่งสินค้าหรือความปลอดภัยก็ตาม สิ่งนี้มีผลต่อขนาดประตูด้วยนะ หรือหากวิ่งอยู่ข้างนอก ก็ยังต้องคิดถึงระยะเลี้ยวของรถอีก

พวกระยะเหล่านี้มีรายละเอียดยิบย่อยมาก ทั้งในเรื่องกฏหมาย ความปลอดภัย และความสะดวยในการใช้งาน จะกล่าวถึงในบทความต่อๆไป

4.คุณอยู่ที่ไหน (สถานที่ทำเลดี)

        อยู่ข้อสุดท้ายแต่สำคัญที่สุด การขนส่งเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ในการจัดเก็บสินค้า ทั้งในด้านค่าใช้จ่าย แรงงานและเวลา ดังนั้นอย่าใช้ค่าเช่าเป็นเพียงปัจจัยเดียวในการเลือกเช่าโกดัง ควรนำต้นทุนการขนส่งมารวมอยู่ในการคำนวนด้วย

สรุป

       หากคุณคิดทั้งหมดนี้แล้วที่คุณจะได้ก็คือ 

  • โกดังประเภทไหน?
  • รับน้ำหนักเท่าไหร่?
  • พื้นที่ขนาดไหน?
  • ลักษณะอาคารเป็นอย่างไร(ความสูงอาคาร ประตู)?
  • และอยู่ที่ไหน?

       ซึ่งเป็นสเปกที่เพียงพอกับการไปค้นหาโกดังให้เช่าเบื้องต้น อย่างไรก็ตามเมื่อคุณได้ที่มาแล้ว ก็ยังแนะนำให้หาอีกหลายๆที่เป็นตัวเลือก เพราะคุณควรต้องเอาตัวเลือกเหล่านี้มาลองออกแบบระบบจริงๆดู แล้วประมาณการข้อดีข้อเสียต่างๆเทียบกับต้นทุนอีกที เพื่อให้ได้โกดังที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

        หากคุณมองหาโกดังให้เช่าอยู่ขอแนะนำ โกดังสยามทุน ชะแมบวังน้อย ไว้เป็นหนึ่งในตัวเลือกด้วยครับ

  • โกดังของเราเป็นโกดังสินค้าสาธารณะ เหมาะกับเก็บของขนาดเล็กตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่ เพราะรับโหลดได้ถึง 2 ตัน/ตรม.

ส่วนเรื่องการใช้งานไม่ต้องเป็นห่วงเพราะเราคิดมาอย่างดีแล้ว 

  • ด้วยอาคารขนาด 1950 ตรม.(แบ่งได้ 720/1200 ตรม.) ไม่มีเสากลางทำให้ได้พื้นที่เก็บของภายในได้อย่างเต็มที่
  • ตัวอาคารสูงถึง 10 เมตร เพื่อให้วางสินค้าซ้อนได้สูง ประหยัดเนื้อที่
  • ขนาดประตู 6×6 เมตร โฟล์คลิฟท์เข้าออกสะดวก หรือกระบะตู้ทึบก็สบาย
  • ถนนหน้ากว้าง 7 เมตร รถพ่วงใหญ่เข้าออกได้สะดวก
  • มีที่จอดรถด้านหน้ากว้าง สำหรับทั้งพนักงานและขนของ
  • มีห้องน้ำในตัว แยกมิเตอร์ให้เลย

สำหรับโลเคชั่นก็ดี

  • ย่านใกล้ชุมชน ตลาดนัดวังน้อยเมืองใหม่ /  FACTORY LAND วังน้อย พนักงานเดินทางสะดวก
  • อยู่เส้นทางตัดระหว่าง ถนนพหลโยธิน(กรุงเทพ-สระบุรี) ถนนโรจนะ(อยุธยา) และถนนธัญบุรี(ปธุมธานี) กระจายไปตามจังหวัดต่างๆได้สะดวก
  • ใกล้สะพานกลับรถ รถใหญ่จะมาจากขาเข้าหรือขาออก ก็เข้าออกได้สะดวก

คลิกดูรายละเอียดที่นี่เลย

หรือ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

โทร: 081-828-8428

Line: @siamwarehouse (ID:@416tvpah)

Facebook: Warehouse Siam group

#โกดังให้เช่า#คลังสินค้าให้เช่า#ความรู้โกดัง#ประเภทโกดัง#โกดังเก็บของ